วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นาฬิกาของชีวิต (Biological Clock)


นาฬิกาของชีวิต (Biological Clock) ถูกติดตั้งไว้ในร่างกายพร้อมการกำเนิดมนุษย์ ตั้งแต่เวลาตื่น เวลานอน เวลากิน เวลาขับถ่าย เวลาออกกำลังกาย เป็นตัวบอกสัญญาณเวลาหาคู่ ตลอดจนบอกเวลาแห่งความเป็นความตายของมนุษย์ที่น่าเชื่อถือที่สุด หากคุณต้องการจัดระเบียบชีวิตเสียใหม่ ให้กิจกรรมประจำวันมีความสอดคล้องกับกฏเกณฑ์เวลาของนาฬิกาชีวิต คุณต้องรู้ว่าในแต่ละวันควรทำอะไรบ้างในแต่ชั่วโมง
ช่วงเวลา 01.00 03.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของตับ เป็นช่วงเวลาที่ตับหลั่งสารเอนโดฟิน (Endorphin) และช่วงนี้ไม่ใช่เวลากินอาหาร หากกินอาหารในช่วงนี้ ตับจะเสื่อมเร็ว เพราะตับมีหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย หน้าที่รองคือ ดูแลความงามให้ผม ขน เล็บ และช่วยหลั่งน้ำย่อยให้กระเพาะ ถ้ากินบ่อยตับจะทำงานหนัก ทำให้การทำหน้าที่หลักบกพร่องไป เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ
ช่วงเวลา 03.00 05.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนเพื่อมาสูดอากาศบริสุทธิ์ และเตรียมตัวรับแสงแดดยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนในช่วงนี้เป็นประจำ ปอดจะดีผิวจะดี ลองสังเกตุพระสงฆ์ดู พระจะตื่นมาทำวัตรตอนเช้ามืด และเข้านอนช่วงที่เหมาะสม ดังนั้นกิจกรรมใดที่เกิดขึ้นตอนหลังพลบค่ำมักไม่ก่อประโยชน์ที่คุ้มค่าไป กว่าการนอนหลับ
ช่วงเวลา 05.00 07.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของการขับถ่ายโดยผ่านลำไส้ใหญ่ ดังนั้นควรขับถ่ายให้เป็นนิสัยทุกเช้า มิฉะนั้นของเสียจะถูกระบายออกทางผิวหนัง กลิ่นเหม็นจะถูกระบายออกทางลมหายใจ
ช่วงเวลา 07.00 09.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร ถ้ากินอาหารเช้าในช่วงเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยอาหารให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ หากผิดเวลาในช่วงนี้ จะส่งผลให้การตัดสินใจช้า ขี้กังวล ปวดเข่า ขาไม่ค่อยมีแรง แต่ถ้าอดอาหารมื้อนั้น จะทำให้ แก่ก่อนวัย
ช่วงเวลา 09.00 11.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของม้าม ช่วงนี้ห้ามนอนโดยเด็ดขาด เพราะม้ามจะอ่อนแอ ม้ามมีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน ผู้ที่นอนหลับในช่วงเวลานี้ จะปวดศีรษะ เจ็บชายโครง เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง ม้ามสร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย ถ้าม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน ทำให้อ้วน จะเห็นได้ว่าหากผิดเวลานอน ประสิทธิภาพการทำงานของตับจะลดลง แต่ถ้าอดนอนเพื่อดื่มเหล้าตอนกลางคืนก็จะทำให้ตับที่ไม่ได้พักผ่อนอยู่แล้ว ต้องมาทำงานหนักเพิ่มขึ้นอีก และหากดื่มเหล้าเสร็จแล้วกลับมานอนช่วงตี 3 ตี 4 นั้นก็เป็นการทำร้ายปอด และนอนตื่นสายไปถึงช่วงเวลา 10 โมงเช้า ก็ทำให้อดอาหารมื้อเช้าทำให้ดูแก่ก่อนวัยเข้าไปอีก บวกกับตื่นสาย ก็ทำให้ม้ามอ่อนแอ เกิดโรคเกี่ยวกับกระแสเลือด และน้ำเหลือง จะทำให้อยู่ไม่สบายตายก็ไม่สะดวก
ช่วงเวลา 11.00 13.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของหัวใจช่วงนี้จึงเป็นช่วงหลีกเลี่ยงความเครียด และการใช้ความคิดหนัก และระงับความตื่นเต้นตกใจ
ช่วงเวลา 13.00 15.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ช่วงนี้เป็นช่วงที่งดกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลำไส้ได้ทำงาน ลำไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมอาหารที่เป็นน้ำทุกชนิด เช่น พวกวิตามิน และ โปรตีน ต่างๆ เพื่อนำเอากรดอะมิโนไปสร้างเซลล์สมอง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สำหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ซึ่งผู้หญิงต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย จึงมีลำไส้ที่ยาวเพื่อดูดซึมกรดอะมิโนนานกว่า
ช่วงเวลา 15.00 17.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ เป็นช่วงที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำ การอั้นปัสสาวะเอาไว้นั้นปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมามีกลิ่นเหม็น ในช่วงเวลานี้เราควรขับเหงื่อด้วยการออกกำลังกาย
ช่วงเวลา 17.00 19.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของไต ควรทำตัวให้สดชื่น ผู้ที่ง่วงเหงาหาวนอนเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้ามีอาการหนักมากจะนอนหลับและเพ้อ ไตซ้ายคุมสมองด้านขวาคือส่วนของความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์สุนทรี รักสวยรักงาม ถ้าไตซ้ายมีปัญหาจะเป็นคนที่ไม่ดูแลตนเองและจะขี้ร้อน ส่วนไตขวาจะคุมสมองด้านซ้าย ควมคุมด้านความจำ และถ้าไตขวามีปัญหาความจำจะเสื่อม เป็นคนขี้หนาว ถ้าไตแข็งแรง จะเป็นคนกล้าและอายุยืน แต่ถ้าเป็นไตวายจะตายไว ไตจะต้องทำงานหนัก ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กไม่ได้ ทำให้เป็นโรคไต ซึ่งจะส่งผลถึงอาการสมองเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ
ช่วงเวลา 19.00 21.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงนี้ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ มีปัญหาเรื่องเยื่อหุ้มหัวใจ คือหัวใจโต หัวใจรั่ว กิจกรรมที่ควรทำช่วงนี้คือ การสวดมนต์ ทำสมาธิ ระวังเรื่องตื่นเต้นดีใจ หัวเราะ ที่จริงควรจะควบคุมอารมณ์ให้เป็นกลางๆ ไปตลอดทั้งวัน เจริญสมาธิทุกขณะจิตไปพร้อมกับการทำงาน คนที่มีเส้นเลือดขอดต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแข็งแรง
ช่วงเวลา 21.00 23.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของการเก็บพลังงาน ต้องทำร่างกายให้อบอุ่น ห้ามอาบน้ำเย็นหรือตากลม เพราะช่วงนี้ลมเป็นพิษ ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย
ช่วงเวลา 23.00 01.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี ซึ่งเป็นถุงสำรองน้ำย่อยที่หลังออกมาจากตับ และเมื่ออวัยวะในร่างกายขาดน้ำ ก็จะดึงน้ำไปจากถุงดีทำให้น้ำดีข้น เป็นผลทำให้อารมณ์ฉุนเฉียวสายตาเสื่อมลง เหงือกจะบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก จามตอนเช้า เพราะถุงน้ำดีจะโยงถึงปอด ปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุ สำหรับผู้ที่ตัดถุงน้ำดีออก พบว่ามักมีอาการ ปวดขา ปวดสะโพก ดังนั้นช่วงเวลานี้ควรนอนก่อน 23.00 น.
การผิดเวลากับนาฬิกาชีวิต ตารางกิจกรรมสัมพันธ์กับสภาวะธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ดูแล้วจะขัดแย้งกับ วิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันเต็มไปด้วยภาระและหน้าที่ อย่างไรก็ตามการผิดเวลากับนาฬิกาชีวิต โทษที่ได้รับคือการหมดลมหายใจอันก่อนวัยอันสมควร โดยไม่อาจขอความเห็นใจเพื่อจะอยู่ทำงานต่อไปอีก นาฬิกาชีวิต เป็นประกาศิตแห่งเวลาที่จะนำพามนุษย์ไปสู่วิถีแห่งความสุข แต่น่าแปลกที่มนุษย์ต่างก็เดินสวนกับเข็มนาฬิกาเรือนนี้มากขึ้นทุกวัน มนุษย์จึงเป็นโรคและอายุสั้นลงถึง 8 ชั่วโมง จากการทำงานทุกๆ 1 วัน
                    ตารางสรุปนาฬิกาชีวิต (Biological Clock)  


วิธีการดูแลรักษาตนเองกับการผักผ่อนให้ตรงเวลา
§ ควรนอนหลับและตื่นนอนอย่างเป็นเวลาไม่ว่าจะเป็นวันหยุดหรือเป็นวันทำงาน เพื่อให้นาฬิกาชีวิตทำงานอย่างเป็นระเบียบ
§ ออก กำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยผ่อนคลายความเครียดทางร่างกายและอารมณ์ ทำให้ร่างกายหลับดีขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายภายใน 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพราะจะรบกวนการนอนหลับ
§ งดสารกระตุ้นหลังเที่ยงวัน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอร์ รวมทั้งการงดสูบบุหรี่
§ ตื่นนอนให้ตรงเวลา การตื่นนอนตรงเวลาจะทำให้ร่างกายปรับวงจรในการนอนให้เป็นปกติ
§ ถ้าไม่มีความจำเป็นไม่ควรใช้ยานอนหลับ เพราะจะทำให้ติด และเมื่อหยุดยาทำให้นอนหลับยากกว่าเดิม
§ พยายามผ่อนคลายช่วง 1 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน
อาการที่เรียกว่านอนไม่หลับ
§ หมายถึง คนที่ใช้เวลามากกว่า 30 นาที ยังไม่หลับ
§ ระยะเวลาการนอนหลับลดลง
§ ตอนกลาง คืนตื่นบ่อย ตื่นเกินกว่า 2 ครั้ง และหลับต่อยาก และเมื่อตื่นแล้วรู้สึกไม่สดชื่น รู้สึกตนเองฝันอยู่ทั้งคืน มีเสียงรบกวนเพียงนิดหน่อยก็ตื่น วันรุ่งขึ้นเวลาทำงาน รู้สึกมึนๆ งงๆ สมองไม่ปลอดโปร่ง
พอนอนไม่พอจะมีอาการดังต่อไปนี้
§ อ่อนเพลียทั้งวัน และงีบหลับกลางวันบ่อยๆ
§ ขาดสมาธิในการทำงาน มีอาการง่วงเหงาหาวนอน ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ดูรายละเอียดที่http://pannfit.blogspot.com/


คุณวราพร แคล้วศึก โทร 085-9083178

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น